ปรัชญา

ผู้ที่ขาดคุณธรรม ย่อมไม่มีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ ผู้ที่ขาดความรู้ ย่อมไม่มีสายตาอันกว้างไกล

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

องค์ประกอบของสีในการออกแบบ


สีมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ค่ะ เพราะ สีจะปรากฏให้เราเห็นได้อยู่ทุกหนทุกแห่ง สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว เราก็จะประกอบไปด้วยสีสันต่างๆมากมาย
สีจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญองค์ประกอบหนึ่งในการออกแบบ เพราะสีจะมีอิทธิพลต่อการแสดงอารมณ์ของงานออกแบบชิ้นนั้นๆ การที่เราจะทำการหยิบสีสัน ต่างๆที่พบเห็นอยู่รอบๆตัวมาใช้ในการออกแบบนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบของสีเสียก่อน โดยที่องค์ประกอบของสีที่ใช้ในการออกแบบนั้นจะประกอบไปด้วย องค์ประกอบ 3 อย่างด้วยกันคือ เนื้อสี น้ำหนักสี และความสดของสี - เนื้อสี Hue คือความแตกต่างของสีบริสุทธิ์แต่ละสี ซึ่งเราจะเรียกเป็นชื่อสีต่างๆ เช่นสีแดง สีเขียว เป็นต้น โดยเราสามารถแบ่งเนื้อสีออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ
สีของแสง เป็นความแตกต่าง สั้นยาวของคลื่นแสง ที่เรามองเห็น โดยเริ่มจากสีม่วง ไปจนถึง สีแดง สีของสาร เป็นสีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่างๆ ซึ่งเกิดจากการดูดซึบ และสะท้อนคลื่นแสง โดยที่เนื้อสีในแต่ละสีนั้นก็จะให้อารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกันไป เช่นสีแดงจะให้ความรู้สึกที่ร้อนแรง มีพลัง ส่วนสีเขียวจะให้ความรู้สึกที่สดชื้น เป็นต้น
- น้ำหนักสี Value/Brightness เป็นเรื่องของความแตกต่างของความสว่างของสี โดยสีที่มีค่าน้ำหนักสีที่สูง จะมีความเข้มของสีมากกว่าสีที่มีค่าน้ำหนักสีต่ำกว่าการที่เราปรับเปลี่ยนน้ำหนักสีจะส่งผลให้ภาพเกิดมีมิติ ความลึก ทำให้ชิ้นงานที่ออกแบบมานั้นมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
- ความสดของสี Intensity/Saturation ความสดของสีจะส่งผลต่อชิ้นงานในการออกแบบ โดยทำให้ชิ้นงานมีลักษณะที่ดู ฉูดฉาด (ความสดของสีมาก) หรือดูหม่น (ความสดของสีน้อย) เพราะฉะนั้นในการออกแบบบางครั้งเราก็จำเป็นที่จะต้องทำการปรับเพิ่ม หรือลดความสดของสีด้วย เพื่อให้ชิ้นงานมีสีที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
สี COLORสีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต ซึ่งมนุษย์รู้จัก สามารถ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่สมัย ดึกดำบรรพ์ ในอดีตกาล มนุษย์ได้ค้นพบสีจากแหล่งต่าง ๆ จากพืช สัตว์ ดิน และแร่ธาตุนานาชนิดจากการค้นพบสีต่าง ๆ เหล่านั้น มนุษย์ได้นำเอาสีต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยนำมาระบายลงไปบนสิ่งของ ภาชนะเครื่องใช้ หรือระบายลงไปบนรูปปั้น รูปแกะสลัก เพื่อให้รูปเด่นชัดขึ้น มีความเหมือนจริงมากขึ้น รวมไปถึงการใช้สีวาดลงไปบนผนังถ้ำ หน้าผา ก้อนหิน เพื่อใช้ถ่ายทอดเรื่องราวและทำให้เกิดความรู้สึกถึงพลังอำนาจที่มีอย ู่เหนือสิ่งต่าง ๆ ทั้งปวง การใช้สีทาตามร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดความฮึกเหิม เกิดพลังอำนาจ หรือใช้สีเป็นสั*ลักษณ์ในการถ่ายทอดความหมายอย่างใดอ ย่างหนึ่ง ในสมัยเริ่มแรก มนุษย์รู้จักใช้สีเพียงไม่กี่สี สีเหล่านั้นได้มาจากพืช สัตว์ ดิน แร่ธาตุต่าง ๆ รวมถึงขี้เถ้า เขม่าควันไฟ เป็นสีที่พบทั่วไปในธรรมชาติ นำมาถู ทา ต่อมาเมื่อทำการย่างเนื้อสัตว์ ไขมัน น้ำมัน ที่หยดจากการย่างลงสู่ดินทำให้ดินมี สีสันน่าสนใจ สามารถนำมาระบายลงบนวัตถุและติดแน่นทนนาน ดังนั้นไขมันนี้ จึงได้ทำหน้าที่เป็นส่วนผสม (binder) ซึ่งมีความสำคั*ในฐานะเป็นสารชนิดหนึ่ง ที่เป็นส่วนประกอบของสี ทำหน้าที่เกาะติดผิวหน้าของวัสดุที่ถูกนำไปทาหร ือ ระบาย นอกจากไขมันแล้วยังได้นำไข่ขาว ขี้ผึ้ง (Wax) น้ำมันลินสีด (Linseed) กาวและยางไม้ (Gum arabic) เคซีน (Casein: ตะกอนโปรตีนจากนม) และสาร พลาสติกโพลีเมอร์ (Polymer) มาใช้เป็นส่วนผสม ทำให้เกิดสีชนิดต่าง ๆ ขึ้นมา องค์ประกอบของสี แสดงได้ดังนี้ แสงสี แสง เป็นพลังงานรังสี ( Radiation Energy ) ที่ตารับรู้และมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยกระบวนการ วิเคราะห์แยกแยะของสมอง ตาสามารถวิเคราะห์พลังงานแสงโดยการรับรู้วัตถุ สัมพันธ์กับตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง ความเข้มของแสง และความยาวคลื่นที่มองเห็นได้

ในการออกแบบแต่ละครั้ง การจะหยิบสีสัน ต่างๆมาใช้งานนั้นเราจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของสีด้วย นอกจากที่เราจะเลือกสีมาอย่างเดียวแล้ว บางครั้งยังจำเป็นที่จะต้องทำการปรับค่าต่างๆขององค์ประกอบของสี เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดนะคะ

อ้างอิง
http://www.arip.co.th/blog.php?blogger=wanda&id=70&keyword=
http://community.spyhatyai.com/index.php?showtopic=1641

บ้านสไตส์ โมเดิร์น



สงครามโลกครั้งที่สอง คุณจะเหนว่าแทบทุกประเทศในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสำคัญต่อพัฒนาการของบ้านพักอาศัย และ ณ ช่วงเวลานั้นเองค่ะที่งานสถาปัตยกรรมได้เปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างสิ้นเชิง จากรูปแบบที่ดูหรูหรามีรายละเอียดตกแต่งที่วิจิตรบรรจงมาสู่รูปแบบที่ตรงไปตรงมา สะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่ผันแปรไปเนื่องจากภาวะของสงคราม และให้ความสำคัญต่อเรื่องสุขอนามัยในการอยู่อาศัยแทน

บ้านเรือนได้ใช้ระบบการก่อสร้างและวัสดุที่ได้จากวิวัฒนาการทางอุตสาหกรรม เหล็กและกระจกได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง อาคารอพาร์ตเมนท์และบ้านแถวมีพื้นที่จำกัดและตอบสนองความต้องการแก่ผู้อยู่อาศัยได้น้อยกว่า จึงไม่ได้รับการยกย่องจากคนในยุคนั้นและกลับได้รับคำวิจารณ์ว่า เป็นสถาปัตยกรรมสำหรับคนจน เพราะไม่ได้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีฐานะได้ซึ่งต่างจากในปัจจุบัน รูปแบบของบ้านเดี่ยวจึงเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ได้รับการพัฒนา ให้สอดคล้องกับความต้องการของครอบครัวที่มีฐานะดีและปานกลาง ซึ่งนำมาสู่บ้านสไตล์โมเดิร์น เริ่มตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1900 จวบจนปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า บ้านโมเดิร์นเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของรูปแบบประเพณีนิยม ค่ะ
บ้านสไตล์โมเดิร์นได้ก้าวเข้ามาเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและรู้จักกันในลักษณะของบ้าน ที่มีความแตกต่างหลุดออกไปจากบ้านตามแบบประเพณีนิยมอย่างสิ้นเชิง ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างใหม่ๆ ที่ได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการบ้านพักอาศัยภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง บ้านเดี่ยวที่งดงามถูกออกแบบไว้สำหรับครอบครัวขนาดเล็ก มีคนรับใช้ 1-2 คน และสามารถดูแลรักษาได้ง่าย สร้างด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักเบา
ความหมายของบ้านอันแสนสุขในยุคนี้นะคะได้ถูกนำมาเรียงร้อยบรรจุลงในบ้านรูปทรงแปลกตา ซึ่งสร้างขึ้นจากคอนกรีตและเหล็กแทนบ้านก่ออิฐในแบบเดิม หน้าต่างกระจกที่เคยเล็กแคบบรรจุในวงกรอบไม้ก็ได้รับการเปลี่ยนแปลง เป็นหน้าต่างกระจกวงกรอบอลูมิเนียมที่มีน้ำหนักเบากว่าและทนทานกว่า อีกทั้งยังขยายกรอบให้กว้างขึ้นเพื่อให้มีระบบระบายอากาศที่ดียิ่งขึ้นและรับแสงธรรมชาติได้มากขึ้น รวมทั้งเปิดรับมุมมองของธรรมชาติภายนอกบ้านได้กว้างขึ้น หลังคาแบน ผนังบ้านนิยมฉาบปูนเรียบและเซาะร่องเป็นเส้นตรงตามแนวนอน
ความเปลี่ยนแปลงนี้ก็ยังได้ครอบคลุมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ที่ได้พัฒนาให้มีรูปร่างที่น่าสบาย โปร่งเบากว่า และแสดงถึงความสามารถในการรับแรงของวัสดุที่ใช้ผลิต
จากโมเดิร์น สู่ความเป็นอินเตอร์เนชั่นแนล สไตล์
แนวความคิดของบ้านสไตล์โมเดิร์นนั้น เริ่มจากประเทศที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเป็นที่แพร่หลายในยุโรป เพราะสภาวะการขาดแคลนบ้านเรือนที่พักอาศัยอันเนื่องมาจากสงครามโลกอันโหดร้าย
ส่วนทางสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามน้อยกว่ายังคงชื่นชอบอยู่กับบ้านเรือน ในแนวพื้นถิ่นซึ่งนิยมใช้เครื่องประดับอาคารที่สะท้อนลักษณะวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ เช่น กรีกรีไวเวิล กอธิครีไวเวิล สแปนิชรีไวเวิล อิตาเลียนเรอเนซองส์ วิกตอเรียน บ้านในแนวนี้มีชื่อเรียกกันว่า บ้านสไตล์ร่วมสมัยหรือ Contemporary Style

จนกระทั่งปี ค.ศ.1900 -1920 บ้านสไตล์แพรรี่ (Prairie Style) ซึ่งนำโดยสถาปนิก แฟรงก์ ลอยด์ ไรท์ และ ซุลลิแวน ก็ได้เริ่มหันเหแนวทางออกจากบ้านในยุคประวัติศาสตร์ โดยยังคงใช้หลังคาที่มีความเอียงลาดเช่นทรงปั้นหยาและจั่วในรูปทรงของบ้าน แต่เริ่มนิยมเส้นนอนโดยใช้ขอบกันสาดบังบางส่วนของหลังคาไว้ยาวขนานไปตลอดแนวของหลังคา และยังคงเน้นมุขทางเข้าบ้าน
ในทศวรรษที่ 1930 แนวความคิดของบ้านสไตล์โมเดิร์นได้หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกาโดยกลุ่มสถาปนิก ที่มีชื่อเสียงซึ่งได้ลี้ภัยสงครามจากยุโรปมาสู่สหรัฐฯ โดยแบบบ้านจะเน้นถึงประโยชน์ใช้สอยและความสะดวกสบายของผู้อยู่อาศัย การใช้วัสดุเน้นให้ได้ประโยชน์สูงสุด มีความชัดเจนของโครงสร้างและวัสดุที่นำมาใช้โดยไม่ต้องการ สิ่งประดับตกแต่งเพื่อปิดบังความงามในเนื้อแท้ของโครงสร้าง และวัสดุพื้นฐานที่ใช้คือ เหล็กและกระจก
แนวคิดดังกล่าวนี้เองได้กลายเป็นรากฐานแห่งรูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่ได้รับ ความนิยมอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกาและต่อมาก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลกจนได้รับการขนานนามว่า อินเตอร์เนชั่นแนล สไตล์

ในสไตส์โมเดิร์นที่ได้กล่าวมานั้นดิฉันคิดว่าเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ที่ให้ความสนใจกับการอยู่อาศัยมากๆที่ชอบการตกแต่งบ้านที่เน้นความเรียบง่ายแต่ดูมีรสนิยม การตกแต่งสไตส์นี้เป็นการเพิ่มความน่าอยู่ให้กับบ้านได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากที่เราจะอยู่แล้วทำให้เรามีความสุขกับบ้านของเรานั้น ดิฉันยังเชื่อว่าผู้ที่เข้ามาเยือนบ้านของเราแล้ว ต้องเป็นอันต้องทึ่งในความหรูหรา ทันสมัย มีรสนิยม อย่างแน่นอนการตกแต่งในแบบสไตส์นี้ยังบ่งบอกถึงสถานะทางสังคม บ่งบอกถึงสไตส์ของผู้อยู่อาศัยได้อีกด้วยนะคะ

อ้างอิง http://www.homedd.com/HomeddWeb/homedd/home_magazine/frontweb/modern_02.jsp

โดย ผศ. สุภาวดี สังขวาสี-รัตนมาศ

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บ้าน สไตส์ County



ทุกคนคงรู้กันดีนะคะว่า ที่อาศัยเป็นปัจจัย 4 หนึ่งในความสำคัญของการดำรงชีวิต มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการที่อยู๋อาศัยที่ดี เพียบพร้อม และความอบอุ่น ดังนั้นสไตส์การตกแต่งบ้านในสไตส์ต่างๆจึงมีความสำคัญ นักออกแบบจึงต้องตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัย
ครั้งนี้จะของยกตัวอย่างการตกแต่งสไตส์ County หรือที่หลายคนรู้จักในนามของการตกแต่งแบบชนบท หรือ แบบพื้นถิ่นก็จะดูน่าฟังกว่า ซึ่งเป็นการตกแต่งที่นำเอาวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆอาจเป็นการตกแต่งที่บ่งบอกถึงพื้นที่สถานที่ที่เราอยู่และเป็นการบ่งบอกถึงสไตส์รสนิยมของผู้อยู่อาศัยได้ ในการตกแต่งในสไตส์ County วัสดุส่วนมากที่ใช้ก็จะเป็นไม้หรือเครื่องจักรสาน เพราะเป็นสิ่งที่หาง่ายและบ่งบอกถึงความเป็นพื้นถิ่นได้ดี เป็นสไตส์ที่แสดงถึงความเป็นตัวเองสูง มีความเรียบง่าย ในการแต่งบ้านในลักษณะนี้ไม่ได้หมายถึงว่าผู้อยู่อาศัยจะต้องคนชนบทเสมอไปเพราะเราจะเห็นว่าในตัวเมืองก็นิยมตกแต่งบ้านสไตส์นี้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าของบ้าน ในการตกแต่งในลักษณะนี้อาจพบเห็นมากใน รีสอร์ท และอีกหลายโครงการที่กำลังเป็นที่นิยมของคนเป็นจำนวนมาก สไตส์การตกแต่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดความตรึงเครียด และสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้อยู่ได้ เพราะคนอาจเบื่อหน่ายกับความหรูหรา ฟู่ฟ่า สไตส์ County ก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการความเรียบง่าย มีกลิ่นอายของความเป็นท้องถิ่นผสมกับความเป็นธรรมชาติ
ในการตกแต่งบ้านในสไตส์ County หรือสไตส์อื่นๆก็ตาม ถ้าเราใส่ความเป็นตัวของตัวเองเข้าไป เราจะมีความสุขกับสิ่งนั้น แต่ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่าตัวเองนั้นชอบอะไรและมาจากไหน คุณจะพบสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ

อ้างอิง
เอกสารประกอบการเรียน สถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ
โดย อาจารย์วิวัฒน์ วอทอง

Green design




ธรรมชาติเป็นทรัพยากรที่มนุษย์ทุกคนปฎิเสธไม่ได้ค่ะว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต มนุษย์เรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติมาตั้งแต่อดีต และธรรมชาติยังทำให้โลกมีความสมดุล ทำให้โลกมีบรรยากาศที่ดีและยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วยค่ะ
Green design คือ การออกแบบที่นำเอาธรรมชาติมาใช้ในงาน หรือการนำเอางานออกแบบเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การที่จะนำธรรมชาติเข้ามาใช้ในงานออกแบบนั้นต้องเป็นสิ่งที่มีชีวิต ถึงจะเรียกว่าเป็น Green design แต่ก็มีข้อยกเว้นค่ะว่า ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติ ใช้วัสดุธรรมชาติก็จัดว่าเป็น Green design ในลักษณะและรูปแบบของ Green design นั้น ทำให้เป็นที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมมากของนักออกแบบชื่อดังค่ะ เพราะนักออกแบบทั้งหลายก็ต่างต้องการที่จะให้มนุษย์ได้อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติเช่นกัน หลายๆคนนะคะอาจคิดว่านักออกแบบหรือที่เรียกกันว่าสถาปนิกเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นต้นเหตุที่ทำลายธรรมชาติอย่างมาก แต่เราก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วนะคะว่าเราพยายามจะหาวิธีแก้ไขเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ในงานอกแบบภายในเป็นงานที่สามารถนำแนวความคิดแบบ Green design มาใช้ได้ดีค่ะเพราะว่าคนส่วนมากต้องการที่จะอยู่กับธรรมชาติมากขึ้น ในถานะที่เราเป็นนักออกแบบภายในเราต้องนำธรรมชาติมาใช้ในงานไม่มาก็ก็น้อย แต่ดิฉันคิดว่าที่อยู่อาศัยถ้าขาดความเป็นธรรมชาติหรือสีเขียวของใบไม้แล้วคงไม่น่าอยู่เป็นแน่ วิธีที่จะทำให้ธรรมชาติเข้ามาอยู่ในบ้านของเรานั้นทำได้ง่ายเช่น การทำสวนหลังคา เป็นการนำต้นไม้ประดับต้นเล็กๆไปปลูกบนหลังคา ให้เป็นสวนสำหรับพักผ่อนส่วนตัว หรือถ้าใครที่สามารถนำต้นไม้ต้นใหญ่ไปปลูกก็จะเป็นร่มเงาให้พักพิงเชียวแหละ แต่บ้านของต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงด้วยนะคะ หรือถ้าไม่แน่ใจว่าบ้านของคุณแข็งแรงหรือม่ก็ควรปรึกษาผู้รู้ อาจเป็นสถาปนิกหรือวิศวกรก็ได้ค่ะ ในการปลูกสวนหลังคาเป็นประโยชน์เลยค่ะ เพราะช่วยใหเรามีสวนที่น่านั่งและเป็นส่วนตัวแล้วยังทำให้บ้านของเราเย็นอีกด้วยและที่ขาดไม่ได้เลยของประโยชน์นี้คือ ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างมากค่ะ เห็นมั้ยล่ะคะว่าGreen design นั้นมีประโยชน์มากมาย
Green design เป็นแนวความคิดในการออกแบบที่ดีเลยใช่มั้ยคะ เพราะเป็นการไม่ทำลายธรรมชาติ แถมยังเป็นการรู้จักนำเอาธรรมชาติมาใช้ในงาน จึงทำให้งานออกแบบนั้นเกิดความน่าสนใจและสมบูรณ์อีกด้วย Green design ยังเป็นการช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี และช่วยให้มนุษย์ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติรู้จักอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันนี้ธรรมเริ่มจะร่อยหรอลงไปทุกที แนวความคิดนี้เป็นวิธีการใหม่ ที่กำลังเป็นที่นิยมนักออกแบบมากขึ้นค่ะ ยังไงก็หันมาใส่ใจธรรมชาติมากขึ้นนะคะ

อ้างอิง
เอกสารประกอบการเรียน สถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ
โดย อาจารย์วิวัฒน์ วอทอง

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553