ปรัชญา

ผู้ที่ขาดคุณธรรม ย่อมไม่มีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ ผู้ที่ขาดความรู้ ย่อมไม่มีสายตาอันกว้างไกล

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

องค์ประกอบของสีในการออกแบบ


สีมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ค่ะ เพราะ สีจะปรากฏให้เราเห็นได้อยู่ทุกหนทุกแห่ง สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว เราก็จะประกอบไปด้วยสีสันต่างๆมากมาย
สีจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญองค์ประกอบหนึ่งในการออกแบบ เพราะสีจะมีอิทธิพลต่อการแสดงอารมณ์ของงานออกแบบชิ้นนั้นๆ การที่เราจะทำการหยิบสีสัน ต่างๆที่พบเห็นอยู่รอบๆตัวมาใช้ในการออกแบบนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบของสีเสียก่อน โดยที่องค์ประกอบของสีที่ใช้ในการออกแบบนั้นจะประกอบไปด้วย องค์ประกอบ 3 อย่างด้วยกันคือ เนื้อสี น้ำหนักสี และความสดของสี - เนื้อสี Hue คือความแตกต่างของสีบริสุทธิ์แต่ละสี ซึ่งเราจะเรียกเป็นชื่อสีต่างๆ เช่นสีแดง สีเขียว เป็นต้น โดยเราสามารถแบ่งเนื้อสีออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ
สีของแสง เป็นความแตกต่าง สั้นยาวของคลื่นแสง ที่เรามองเห็น โดยเริ่มจากสีม่วง ไปจนถึง สีแดง สีของสาร เป็นสีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่างๆ ซึ่งเกิดจากการดูดซึบ และสะท้อนคลื่นแสง โดยที่เนื้อสีในแต่ละสีนั้นก็จะให้อารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกันไป เช่นสีแดงจะให้ความรู้สึกที่ร้อนแรง มีพลัง ส่วนสีเขียวจะให้ความรู้สึกที่สดชื้น เป็นต้น
- น้ำหนักสี Value/Brightness เป็นเรื่องของความแตกต่างของความสว่างของสี โดยสีที่มีค่าน้ำหนักสีที่สูง จะมีความเข้มของสีมากกว่าสีที่มีค่าน้ำหนักสีต่ำกว่าการที่เราปรับเปลี่ยนน้ำหนักสีจะส่งผลให้ภาพเกิดมีมิติ ความลึก ทำให้ชิ้นงานที่ออกแบบมานั้นมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
- ความสดของสี Intensity/Saturation ความสดของสีจะส่งผลต่อชิ้นงานในการออกแบบ โดยทำให้ชิ้นงานมีลักษณะที่ดู ฉูดฉาด (ความสดของสีมาก) หรือดูหม่น (ความสดของสีน้อย) เพราะฉะนั้นในการออกแบบบางครั้งเราก็จำเป็นที่จะต้องทำการปรับเพิ่ม หรือลดความสดของสีด้วย เพื่อให้ชิ้นงานมีสีที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
สี COLORสีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต ซึ่งมนุษย์รู้จัก สามารถ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่สมัย ดึกดำบรรพ์ ในอดีตกาล มนุษย์ได้ค้นพบสีจากแหล่งต่าง ๆ จากพืช สัตว์ ดิน และแร่ธาตุนานาชนิดจากการค้นพบสีต่าง ๆ เหล่านั้น มนุษย์ได้นำเอาสีต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยนำมาระบายลงไปบนสิ่งของ ภาชนะเครื่องใช้ หรือระบายลงไปบนรูปปั้น รูปแกะสลัก เพื่อให้รูปเด่นชัดขึ้น มีความเหมือนจริงมากขึ้น รวมไปถึงการใช้สีวาดลงไปบนผนังถ้ำ หน้าผา ก้อนหิน เพื่อใช้ถ่ายทอดเรื่องราวและทำให้เกิดความรู้สึกถึงพลังอำนาจที่มีอย ู่เหนือสิ่งต่าง ๆ ทั้งปวง การใช้สีทาตามร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดความฮึกเหิม เกิดพลังอำนาจ หรือใช้สีเป็นสั*ลักษณ์ในการถ่ายทอดความหมายอย่างใดอ ย่างหนึ่ง ในสมัยเริ่มแรก มนุษย์รู้จักใช้สีเพียงไม่กี่สี สีเหล่านั้นได้มาจากพืช สัตว์ ดิน แร่ธาตุต่าง ๆ รวมถึงขี้เถ้า เขม่าควันไฟ เป็นสีที่พบทั่วไปในธรรมชาติ นำมาถู ทา ต่อมาเมื่อทำการย่างเนื้อสัตว์ ไขมัน น้ำมัน ที่หยดจากการย่างลงสู่ดินทำให้ดินมี สีสันน่าสนใจ สามารถนำมาระบายลงบนวัตถุและติดแน่นทนนาน ดังนั้นไขมันนี้ จึงได้ทำหน้าที่เป็นส่วนผสม (binder) ซึ่งมีความสำคั*ในฐานะเป็นสารชนิดหนึ่ง ที่เป็นส่วนประกอบของสี ทำหน้าที่เกาะติดผิวหน้าของวัสดุที่ถูกนำไปทาหร ือ ระบาย นอกจากไขมันแล้วยังได้นำไข่ขาว ขี้ผึ้ง (Wax) น้ำมันลินสีด (Linseed) กาวและยางไม้ (Gum arabic) เคซีน (Casein: ตะกอนโปรตีนจากนม) และสาร พลาสติกโพลีเมอร์ (Polymer) มาใช้เป็นส่วนผสม ทำให้เกิดสีชนิดต่าง ๆ ขึ้นมา องค์ประกอบของสี แสดงได้ดังนี้ แสงสี แสง เป็นพลังงานรังสี ( Radiation Energy ) ที่ตารับรู้และมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยกระบวนการ วิเคราะห์แยกแยะของสมอง ตาสามารถวิเคราะห์พลังงานแสงโดยการรับรู้วัตถุ สัมพันธ์กับตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง ความเข้มของแสง และความยาวคลื่นที่มองเห็นได้

ในการออกแบบแต่ละครั้ง การจะหยิบสีสัน ต่างๆมาใช้งานนั้นเราจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของสีด้วย นอกจากที่เราจะเลือกสีมาอย่างเดียวแล้ว บางครั้งยังจำเป็นที่จะต้องทำการปรับค่าต่างๆขององค์ประกอบของสี เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดนะคะ

อ้างอิง
http://www.arip.co.th/blog.php?blogger=wanda&id=70&keyword=
http://community.spyhatyai.com/index.php?showtopic=1641

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น