ปรัชญา

ผู้ที่ขาดคุณธรรม ย่อมไม่มีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ ผู้ที่ขาดความรู้ ย่อมไม่มีสายตาอันกว้างไกล

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บ้านสไตส์ โมเดิร์น



สงครามโลกครั้งที่สอง คุณจะเหนว่าแทบทุกประเทศในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสำคัญต่อพัฒนาการของบ้านพักอาศัย และ ณ ช่วงเวลานั้นเองค่ะที่งานสถาปัตยกรรมได้เปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างสิ้นเชิง จากรูปแบบที่ดูหรูหรามีรายละเอียดตกแต่งที่วิจิตรบรรจงมาสู่รูปแบบที่ตรงไปตรงมา สะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่ผันแปรไปเนื่องจากภาวะของสงคราม และให้ความสำคัญต่อเรื่องสุขอนามัยในการอยู่อาศัยแทน

บ้านเรือนได้ใช้ระบบการก่อสร้างและวัสดุที่ได้จากวิวัฒนาการทางอุตสาหกรรม เหล็กและกระจกได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง อาคารอพาร์ตเมนท์และบ้านแถวมีพื้นที่จำกัดและตอบสนองความต้องการแก่ผู้อยู่อาศัยได้น้อยกว่า จึงไม่ได้รับการยกย่องจากคนในยุคนั้นและกลับได้รับคำวิจารณ์ว่า เป็นสถาปัตยกรรมสำหรับคนจน เพราะไม่ได้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีฐานะได้ซึ่งต่างจากในปัจจุบัน รูปแบบของบ้านเดี่ยวจึงเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ได้รับการพัฒนา ให้สอดคล้องกับความต้องการของครอบครัวที่มีฐานะดีและปานกลาง ซึ่งนำมาสู่บ้านสไตล์โมเดิร์น เริ่มตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1900 จวบจนปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า บ้านโมเดิร์นเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของรูปแบบประเพณีนิยม ค่ะ
บ้านสไตล์โมเดิร์นได้ก้าวเข้ามาเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและรู้จักกันในลักษณะของบ้าน ที่มีความแตกต่างหลุดออกไปจากบ้านตามแบบประเพณีนิยมอย่างสิ้นเชิง ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างใหม่ๆ ที่ได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการบ้านพักอาศัยภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง บ้านเดี่ยวที่งดงามถูกออกแบบไว้สำหรับครอบครัวขนาดเล็ก มีคนรับใช้ 1-2 คน และสามารถดูแลรักษาได้ง่าย สร้างด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักเบา
ความหมายของบ้านอันแสนสุขในยุคนี้นะคะได้ถูกนำมาเรียงร้อยบรรจุลงในบ้านรูปทรงแปลกตา ซึ่งสร้างขึ้นจากคอนกรีตและเหล็กแทนบ้านก่ออิฐในแบบเดิม หน้าต่างกระจกที่เคยเล็กแคบบรรจุในวงกรอบไม้ก็ได้รับการเปลี่ยนแปลง เป็นหน้าต่างกระจกวงกรอบอลูมิเนียมที่มีน้ำหนักเบากว่าและทนทานกว่า อีกทั้งยังขยายกรอบให้กว้างขึ้นเพื่อให้มีระบบระบายอากาศที่ดียิ่งขึ้นและรับแสงธรรมชาติได้มากขึ้น รวมทั้งเปิดรับมุมมองของธรรมชาติภายนอกบ้านได้กว้างขึ้น หลังคาแบน ผนังบ้านนิยมฉาบปูนเรียบและเซาะร่องเป็นเส้นตรงตามแนวนอน
ความเปลี่ยนแปลงนี้ก็ยังได้ครอบคลุมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ที่ได้พัฒนาให้มีรูปร่างที่น่าสบาย โปร่งเบากว่า และแสดงถึงความสามารถในการรับแรงของวัสดุที่ใช้ผลิต
จากโมเดิร์น สู่ความเป็นอินเตอร์เนชั่นแนล สไตล์
แนวความคิดของบ้านสไตล์โมเดิร์นนั้น เริ่มจากประเทศที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเป็นที่แพร่หลายในยุโรป เพราะสภาวะการขาดแคลนบ้านเรือนที่พักอาศัยอันเนื่องมาจากสงครามโลกอันโหดร้าย
ส่วนทางสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามน้อยกว่ายังคงชื่นชอบอยู่กับบ้านเรือน ในแนวพื้นถิ่นซึ่งนิยมใช้เครื่องประดับอาคารที่สะท้อนลักษณะวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ เช่น กรีกรีไวเวิล กอธิครีไวเวิล สแปนิชรีไวเวิล อิตาเลียนเรอเนซองส์ วิกตอเรียน บ้านในแนวนี้มีชื่อเรียกกันว่า บ้านสไตล์ร่วมสมัยหรือ Contemporary Style

จนกระทั่งปี ค.ศ.1900 -1920 บ้านสไตล์แพรรี่ (Prairie Style) ซึ่งนำโดยสถาปนิก แฟรงก์ ลอยด์ ไรท์ และ ซุลลิแวน ก็ได้เริ่มหันเหแนวทางออกจากบ้านในยุคประวัติศาสตร์ โดยยังคงใช้หลังคาที่มีความเอียงลาดเช่นทรงปั้นหยาและจั่วในรูปทรงของบ้าน แต่เริ่มนิยมเส้นนอนโดยใช้ขอบกันสาดบังบางส่วนของหลังคาไว้ยาวขนานไปตลอดแนวของหลังคา และยังคงเน้นมุขทางเข้าบ้าน
ในทศวรรษที่ 1930 แนวความคิดของบ้านสไตล์โมเดิร์นได้หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกาโดยกลุ่มสถาปนิก ที่มีชื่อเสียงซึ่งได้ลี้ภัยสงครามจากยุโรปมาสู่สหรัฐฯ โดยแบบบ้านจะเน้นถึงประโยชน์ใช้สอยและความสะดวกสบายของผู้อยู่อาศัย การใช้วัสดุเน้นให้ได้ประโยชน์สูงสุด มีความชัดเจนของโครงสร้างและวัสดุที่นำมาใช้โดยไม่ต้องการ สิ่งประดับตกแต่งเพื่อปิดบังความงามในเนื้อแท้ของโครงสร้าง และวัสดุพื้นฐานที่ใช้คือ เหล็กและกระจก
แนวคิดดังกล่าวนี้เองได้กลายเป็นรากฐานแห่งรูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่ได้รับ ความนิยมอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกาและต่อมาก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลกจนได้รับการขนานนามว่า อินเตอร์เนชั่นแนล สไตล์

ในสไตส์โมเดิร์นที่ได้กล่าวมานั้นดิฉันคิดว่าเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ที่ให้ความสนใจกับการอยู่อาศัยมากๆที่ชอบการตกแต่งบ้านที่เน้นความเรียบง่ายแต่ดูมีรสนิยม การตกแต่งสไตส์นี้เป็นการเพิ่มความน่าอยู่ให้กับบ้านได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากที่เราจะอยู่แล้วทำให้เรามีความสุขกับบ้านของเรานั้น ดิฉันยังเชื่อว่าผู้ที่เข้ามาเยือนบ้านของเราแล้ว ต้องเป็นอันต้องทึ่งในความหรูหรา ทันสมัย มีรสนิยม อย่างแน่นอนการตกแต่งในแบบสไตส์นี้ยังบ่งบอกถึงสถานะทางสังคม บ่งบอกถึงสไตส์ของผู้อยู่อาศัยได้อีกด้วยนะคะ

อ้างอิง http://www.homedd.com/HomeddWeb/homedd/home_magazine/frontweb/modern_02.jsp

โดย ผศ. สุภาวดี สังขวาสี-รัตนมาศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น